Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

       

 

Home
IT Idea for Spiritization

ศรีทะนนไชย
โครงการเลือกสรรหนังสือ มสธ. ๒๕๔๔

     พวกเรามักพูดกันเสมอว่าคนไทยเป็นคนที่มีนิสัยและพฤติกรรมแบบศรีทะนนไชย หรือ ศรีธนญไชย นั่นคือมีลักษณะแบบฉลาดแกมโกง เจ้าเล่ห์ นักเล่นคำพูด ไปสัญญากับใครไว้ก็มักจะเบี้ยวโดยอ้างว่าทำตามคำพูดแบบตรงไปตรงมา ทั้งๆที่ตนเองรู้ว่าเป็นการบิดเบือนคำพูดให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง

      เมื่อผมยังเป็นเด็กนั้น จำได้ว่าเคยอ่านนิทานเรื่องศรีทะนนไชยที่มีผู้ถอดความพิมพ์ให้อ่านง่ายๆ แต่จำไม่ได้แล้วว่าใครเขียน ส่วนหนังสือที่เคยอ่านก็หายไปแล้วเมื่อตอนย้ายบ้าน หลังจากโตแล้วผมก็ไม่เคยได้อ่านเรื่องศรีทะนนไชยอีกเลยจนกระทั่งเมื่อมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีโครงการเลือกสรรหนังสือเก่าที่หายากมาพิมพ์เผยแพร่ใหม่

     จากประวัติที่พิมพ์ในเล่มนี้ ทำให้ทราบว่าศรีทะนนไชยเป็นนิทานเก่าแก่ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่เล่าสืบทอดกันมานานแล้ว และได้มีผู้นำมาแต่งขึ้นอีกหลายสำนวนทั้งที่เป็นร้อยแก้ว กาพย์ และกลอน ส่วนเล่มที่ทาง มสธ. นำมาตีพิมพ์นี้ เป็นสำนวนเก่าสมัยโรงพิมพ์หมดสมิธ แต่งเป็นกาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ยานี และกาพย์ฉบัง โดยจับความตั้งแต่ศรีทะนนไชยเกิด ต่อจากนั้นเมื่อบิดามารดามีลูกชายอีกคน ศรีทะนนไชยก็เกิดอิจฉาริษยาน้อง เมื่อพ่อแม่แบ่งอะไรให้กินก็เรียกร้องว่าต้องได้มากกว่าของน้อง ทั้งๆที่พ่อแม่แบ่งให้เท่าๆกัน จนวันหนึ่งเมื่อพ่อแม่จะไปหาของป่า ก็ฝากให้ศรีทะนนไชยเลี้ยงน้อง โดยสั่งให้ "ชำระขัดสี ขี้เยี่ยวน้องยา อาบน้ำอาบท่า ให้หมดมลทิน" ศรีทะนนไชยนั้นเกลียดน้องอยู่แล้ว ประกอบกับมีเวรกรรมผูกพันกันมา ดังนั้น"ทะนนไชยมิได้กรุณา ดลจิตริษยา ฉวยพร้าเข้าผ่าเป็นควัน ชักไส้ตับไตออกพลัน จากท้องน้องนั้น ดิ้นยันฟันซ้ำอำมหิต ดับสูญสุดสิ้นชีวิต กรรมตนดลจิต ไม่คิดว่าน้องของตน"

      เรื่องที่พลิกคำพูดในทำนองนี้มีอีกมากจนกระทั่งไปจบเมื่อศรีทะนนไชย ซึ่งก็ยังไม่ยอมตายง่ายๆ ยังฝากรอยแผลให้แก่คนอื่นหลังตายอีก ผมเองไม่เคยอ่านตอนที่ศรีทะนนไชยตายมาก่อน ก็เลยได้มาอ่านตอนนี้ แต่จะไม่ขอเล่า ใครอยากทราบก็คงต้องไปหามาอ่านเอง

     ขอบอกก่อนว่า หนังสือเล่มนี้เป็นสำนวนเก่า อ่านแล้วต้องตีความเหมือนกัน บางตอนก็เข้าใจยาก อย่างไรก็ตาม ลองกลับไปอ่านหนังสือเก่าๆเพื่อศึกษาภุมิปัญญาชาวบ้านดูก็ดีเหมือนกัน อ่านแล้วก็เลยเข้าใจได้ว่าการอภิปรายในรัฐสภาของไทยก็เป็นแบบศรีทะนนไชยนั่นเอง คือเล่นคำพูด มากกว่าสาระ น่าเสียดายเหมือนกันที่เมืองไทยมีคนแบบศรีทะนนไชยมากเกินไป






Back