Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

       

 

Home
IT Idea for Spiritization

ฉลอง 200 ปี พระเจ้ากรุงสยาม
ผู้เขียน ส. ศิวรักษ์
ตุลาคม 2547

    นักเขียนนักคิดที่ผมติดตามอ่านงานของท่านมาเสมอก็คือ ส. ศิวรักษ์ หรือ คุณสุลักษณ์ศิวรักษ์ที่ผู้บริหารประเทศทุกยุคทุกสมัย
ไม่ค่อยชอบเท่าใด ผมติดตามฟังคำอภิปรายและอ่านหนังสือของคุณสุลักษณ์มาตั้งแต่ท่านทำงานอยู่ที่สมาคมสังคมศาสตร์ และผมก็
เก็บวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์เอาไว้ตั้งแต่เล่มแรกถึงเล่มสุดท้ายที่ท่านเป็นบรรณาธิการ แต่ปัจจุบันนี้เมื่อผมต้องขยายบ้านเพื่อรองรับ
หนังสือที่มีปริมาณมหาศาล ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าวารสารเหล่านี้ได้พลัดพรากไปอยู่เสียที่ไหนแล้ว

    ข้อเขียนทุกเรื่องของคุณสุลักษณ์มีเกร็ดเรื่องต่าง ๆ ให้เราได้รู้และศึกษา หลายเรื่องเป็นเกร็ดที่เราไม่เคยทราบมาก่อน
และบางเรื่องก็อาจจะไม่ตรงกับที่เราได้รับทราบมาเช่นกัน การทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมนั้นจำเป็นจะต้องรู้
ทั้งสิ่งที่เปิดเผยและสิ่งที่ไม่เปิดเผยจึงจะดี หากรู้แต่เพียงเรื่องที่เปิดเผยกัน หรือเรื่องที่เขาจงใจให้เราทราบ สิ่งที่เราเข้าใจ
ก็อาจจะคลาดเคลื่อนได้

    นอกจากการเปิดเผยเรื่องที่ไม่ค่อยได้ทราบทั่วกันแล้ว คุณสุลักษณ์ยังเขียนวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมามาก จนคนอ่านหลายคน
อาจจะรับไม่ได้ เช่น การวิจารณ์ความสามารถ ความคิดอ่าน หรือแม้แต่การประพฤติปฏิบัติของบุคคลจำนวนมากที่คุณสุลักษณ์
หยิบยกขึ้นมากล่าวถึง เรื่องเหล่านี้มีกล่าวถึงมากทีเดียวในหนังสือเล่มนี้

    หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านต่าง ๆ อย่างยากที่จะหาอ่านได้จากหนังสือ
เล่มอื่น มีหลายเรื่องที่คุณสุลักษณ์ได้ชี้ไว้อย่างแยบคายโดยเฉพาะการที่นักวิชาการหลายท่านกล่าวในทำนองว่าทรงสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1
ขึ้น โดยคุณสุลักษณ์ชี้ว่า พระองค์ท่านเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดมาก ท่านย่อมไม่สามารถที่จะปลอมแปลงศิลาจารึกได้อย่างแน่นอน
นอกจากเรื่องที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่องที่น่าอ่าน และดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่า
แต่ละเรื่องมีประเด็นให้ขบคิดได้อีกมาก จะมีที่น่าเสียดายก็ตรงที่บางครั้งคุณสุลักษณ์ก็เขียนในเชิงสำนวนให้ต้องตีความว่า
ข้อความนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ แทนที่จะเขียนให้ชัด
   
    นอกจากนั้นยังใช้ศัพท์ซึ่งเด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่ทราบความหมายด้วย อย่างไรก็ดี นี่ก็คือเสน่ห์ของข้อเขียนทั้งหมด
   กล่าวโดยรวม เราน่าจะหาซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านเพื่อให้เข้าใจรากเหง้าและความเป็นไปของบ้านเมืองเราในเวลานี้

 

     

Back