Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

       

 

Home
IT Idea for Spiritization

เรื่องน่าคิดของคนช่างคิด
เขย่าคิด - เรื่องเล่า
ผู้แต่ง ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
สำนักพิมพ์ บริษัทซัคเซส มีเดีย จำกัด

     ทุกวันนี้ผมยังคงอ่านหนังสือมากเหมือนเดิม แต่โดยที่ปริมาณหนังสือมีมากเหลือเกิน ผมจึงต้องจำกัดประเภทของหนังสือที่
อ่านลงมามากทีเดียว ไม่สามารถอ่านแบบเหวี่ยงแหได้เหมือนสมัยก่อน
     
      แต่ไหนแต่ไรมา หนังสือประเภทหนึ่งที่ผมชอบก็คือเรื่องเล่าหรือพูดคุยแบบกันเอง เรื่องแรกที่ผมติดใจมากก็คือ ข้อคิดของ
ม. ชูพินิจ (หรือคือคุณ มาลัย ชูพินิจ หรือ แม่อนงค์ หรือ น้อย อินทนนท์) สุดที่รัก ของ อ. สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ ผู้เพิ่งจะล่วงลับไปแล้ว
หน้า 5 สยามรัฐ ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช และปัจจุบันนี้ก็คือ คุยกับประภาส ในมติชน
     
      หนังสือเรื่อง เขย่าคิด นี้ก็เป็นหนังสือในทำนองเดียวกัน คือเป็นการปรารภถึงความเป็นไปของบ้านเมืองและผู้คน แต่หยิบยกเอา
เรื่องที่ใกล้ตัวผู้เขียนเองมาบรรยาย ทำให้หนังสือเล่มนี้อ่านได้แบบเบาสบาย ไม่หนักสมอง ไม่ต้องปีนบันได และที่สำคัญทำให้เกิดแง่คิด
ให้ต้องขบคิดได้มากทีเดียว ถึงแม้ว่าเรื่องที่ต้องคิดนั้นจะเป็นปัญหาที่เราไม่สามารถจะแก้ได้
      
      ในชีวิตคนเรานั้น ได้ผ่านการเรียนรู้ตลอดเวลา ทุกวันนี้ผมยังเรียนรู้ทุกครั้งที่ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมต่าง ๆ ได้เรียนรู้บุคลิกและ
การตัดสินใจของประธาน ได้เรียนรู้วิธีการพูดของผู้เข้าร่วมประชุม และได้เรียนรู้แนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ
    
     ผมยกเรื่องการประชุมขึ้นมาก่อนเพราะดูเหมือนว่าการปฏิบัติราชการและการทำงานในภาคเอกชนเวลานี้จะใช้ที่ประชุมเป็นเครื่องมือ
สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล การตัดสินใจ และการสั่งการ อย่างไรก็ตามการประชุมระดับสูงที่ผมไปเกี่ยวข้องด้วยนั้นมีหลายแห่งที่ไม่ม
ีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นการจัดวาระการประชุม หรือ การนำการประชุมของประธานในที่ประชุม ในหนังสือของ
อาจารย์เกรียงศักดิ์เล่มนี้ มีหลายตอนที่เกี่ยวกับการประชุมอันเป็นเรื่องน่าคิดที่เราควรเริ่มพิจารณาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการเริ่มประชุม
ให้ตรงเวลา
     
      ผมจำได้ดีว่าในการประชุมคณาจารย์ของเอไอทีครั้งแรกของ โปรเฟสเซอร์ อลัสแตร์ นอร์ท ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเข้ามาเป็นอธิการบดีใหม่ ๆ ท่านเข้ามานั่งในห้องประชุมก่อนเวลา 13.00 น. เล็กน้อย และตอนนั้นอาจารย์ก็ยังไม่ได้เข้ามานั่งในห้องประชุมกันครบ ท่านนั่งคุยกับเลขานุการ
ของที่ประชุมต่อไปเรื่อย ๆ พอ 13.03 น. ท่านก็พูดออกทางไมโครโฟนว่า วันนี้ถึงเวลาประชุมแล้ว แต่กรรมการมาไม่ครบองค์ประชุม
จึงของดประชุม
     
     
แค่นี้ก็เป็นเรื่องทีเดียวครับ... เพราะการประชุมครั้งนั้นมีวาระสำคัญต้องพิจารณาหลายเรื่อง แต่เมื่อท่านอธิการให้งดประชุมไปแล้ว อาจารย์ที่เข้าประชุมช้าก็หน้าจ๋อย และเรื่องที่จะพิจารณาก็จะต้องเลื่อนไปถึงเดือนหน้าเลยทีเดียว หลังจากนั้นคงไม่ต้องบอกก็ได้ครับว่า
อาจารย์ไม่เคยมาช้าอีกเลย
     
      นี่ผมยังไม่ได้บอกใช่ไหมครับว่า โปรเฟสเซอร์ นอร์ท คนนี้เป็นคนสก๊อตครับ
    
       ผมได้เรียนรู้ทุกครั้งที่ได้พบกับผู้คน เรื่องที่ผมเรียนรู้มีมากเหมือน ๆ กับที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ได้เล่าไว้ในหนังสือเล่มนี้ ผมได้เรียนรู้วิธีคิด เรียนรู้เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับผู้นั้น และเรียนรู้นิสัยใจคอเกี่ยวกับผู้นั้น ปัญหาคือเราจะเก็บเรื่องที่เราเรียนรู้นี้ไว้ได้อย่างไร
     
      ผมเองแม้จะคิดถึงเรื่องนี้บ่อยครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้จัดการอะไรลงไป เพราะดูเหมือนว่างานที่ผมไปรับปากใครต่อใครนั้นมีมากเกินกว่าที่ผม
จะจัดการได้เสียแล้ว และในขณะเดียวกันผมก็ยังรักที่จะอ่านและเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ จากหนังสืออีกมาก
    
     
 อาจารย์เกรียงศักดิ์ เป็นผู้นำความคิดคนสำคัญของประเทศคนหนึ่งครับ ลองหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านเถอะครับ อย่าเพิ่งตะลุยอ่า
นเสียทีเดียวควรจะค่อย ๆ อ่านไปวันละบทสองบท อ่านไปคิดไป แล้วลองนึกเอาเองว่าหากเป็นตัวเราที่ไปอยู่ในฐานะของอาจารย์เกรียงศักดิ์แล้ว
เราจะทำอย่างไร

     

Back