Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

Home
IT Idea for Spiritization

ศึกกู้พม่า
สังคีต จันทนะโพธิ
สำนักพิมพ์ธารบัวแก้ว
มิถุนายน 2543

          สงครามเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมากมายนับไม่ถ้วนในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ไม่ว่าจะเผ่าพันธุ์ไหน สงครามเกิดขึ้นในจีน ในอียิปต์ ในกรีซ ในไทย ในญี่ปุ่น สงครามทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นเอนกอนันต์ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีวี่แววว่าสงครามจะหมดสิ้นไปจากโลก สงครามคงจะเกิดขึ้นอีกนับครั้งไม่ถ้วน ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีกิเลสตัณหา มีความโลภ มีความขัดแย้ง และนิยมแก้ปัญหาโดยการทำลายล้าง

          โดยปกติแล้วผมไม่ค่อยอ่านหนังสือเกี่ยวกับสงครามโดยตรงมากนัก ที่อ่านมากก็คือหนังสือประวัติของสายลับ และ องค์การที่เกี่ยวข้องกับสายลับ อย่างเช่น องค์การ OSS ที่มี William J. Donovan เป็นหัวหน้าใหญ่ รวมไปถึงเรื่องของ FBI และ CIA ด้วย อย่างไรก็ตามผมก็ซื้อหนังสือศึกกู้พม่าเล่มนี้ มาอ่านเพราะอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ การสู้รบระหว่างอังกฤษกับพม่าในสงครามโลกครั้งที่สอง ว่าเป็นอย่างไร เพราะไม่ค่อยจะได้มีใครเขียนเรื่องนี้มากนัก แม้แต่ภาพยนต์สารคดีสงครามที่ฉายอยู่ทางช่อง UBC ก็ไปเน้นการบุกเกาะต่างๆ ของอเมริกันมากกว่า

          เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ความจริงน่าสนใจมาก แต่คุณสังคีต ซึ่งมีผลงานดีมาแล้วหลายเล่มกลับทำเล่มนี้ไม่ได้ดีนัก เพราะอ่านแล้วสับสนมากเนื่องจากไม่ทราบว่า “ข้าพเจ้า” ที่เอ่ยถึงเป็นบางตอนนั้นคือใคร และทำไมบางตอนจึงไม่มี “ข้าพเจ้า” การใช้ชื่อต่างๆ ทั้งชื่อคน ชื่อเมือง และชื่อสถานที่นั้นก็น่าสงสัยว่าจะไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะเรียกกลับไปกลับมาหลายอย่าง อ่านแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่าแปลโดยคนๆ เดียวหรือหลายคนกันแน่

          ที่แย่ที่สุดก็คือการตรวจบรูฟผิดมากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะก็คือตัวเลขต่างๆ เช่น ตัวเลขที่บอกวันที่และปี อ่านแล้วสับสนมากว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนและหลัง แม้แต่ตัวเลขอื่นๆ ก็เลยยิ่งไม่น่าเชื่อถือไปด้วย เช่นระบุว่าได้ฝึกทหารให้เดินทางไกลถึง 320 กม.

          ผมคิดว่าคุณสังคีตคงจะแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษตรงๆ และไม่ได้พยายามที่จะค้นคว้าหารายละเอียด มาบรรจุใส่ให้ได้เนื้อหาที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจชัดเจน เช่น เกิดอะไรขึ้นในเอเซียและในโลกบ้าง พม่าจึงบุกเข้ามายึดพม่ากับอินเดีย พม่าบุกเข้ามาโดยทางใด รุกไปทางไหนบ้าง และตั้งใจว่าจะทำอะไร แผนที่ซึ่งนำมาประกอบก็ค่อนข้างจะเบลอร์ ไม่เห็นภาพชัดเจนว่าใครไปรบกับใครที่ไหน

          ในภาพรวมแล้ว หนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องกับประวัติส่วนหนึ่งของ นายพล โอ. ซี. วินเกต ผู้ซึ่งได้รับสมญาว่าเป็นขุนศึกแห่งพม่า เพราะเป็นผู้ที่สร้างกองกำลังจรยุทธ์ขึ้นก่อกวนญี่ปุ่นบริเวณลุ่มน้ำอิรวดี จนทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายไปทั่ว และท้ายสุดญี่ปุ่นก็ไม่สามารถยึดที่มั่นเอาไว้ได้

          ความสำเร็จของนายพลวินเกตนั้นมาจากประเด็นต่างๆ ตรงตามหลักบริหารที่พวกเราควรศึกษาจดจำดังต่อไปนี้

  • หัวหน้าคือนายพลวินเกต ได้ใช้เวลาศึกษาภูมิประเทศ วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อมของบริเวณสมรภูมิจนเกิดความเข้าใจ
  • นายพลวินเกตได้สั่งให้ทหารซึ่งมาจากอาชีพต่างๆ ฝึกซ้อมอย่างหนักจนกระทั่งมีความสามารถและความทรหดอดทนที่จะเดินทางไกล และ สามารถต่อสู้ได้จริง
  • ฝึกหัดให้ทหารทุกคนมีความมั่นใจในตนเอง
  • กล้ามอบหมายงานให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติและตัดสินใจด้วยตัวเอง
  • หัวหน้ามีความสามารถในการวางแผน และเข้าใจดีว่าแผนทั้งหลายนั้นอาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ดังนั้นจึงต้องสามารถปรับแผนได้ตลอดเวลา
          แม้นายพลวินเกตจะได้เป็นวีรบุรุษชาวอังกฤษในสงครามพม่ากับญี่ปุ่น แต่พวกเราก็แทบจะไม่รู้จักท่านผู้นี้เลย นั่นเป็นเพราะในช่วงท้ายของสงครามนั้นเครื่องบินที่ท่านนั่งได้ประสบกับพายุฤดูร้อนจนตกและไม่มีใครรอดชีวิต

Back