Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

Home
IT Idea for Spiritization

การเรียนรู้ตลอดชีวิต ในศตวรรษที่ 21: สหราชอาณาจักร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
234 หน้า

ในพรบ.การศึกษา 2542 ได้มีการกล่าวถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตเอาไว้ในมาตรา 8โดยมีข้อความดังนี้

การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้

  • เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
  • ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  • การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
          เวลานี้เรากำลังปรารภกันว่าเด็กนักเรียนของเรานั้นไม่ได้มาโรงเรียนเพราะโรงเรียนได้กลายเป็นโรงสอนไปแล้ว นั่นคือนักคิดหลายคนเห็นว่าการใช้คำว่าสอนนั้นผิด อาจารย์ไม่ควรสอนแต่นักเรียนควรจะเรียน! ในทำนองเดียวกันก็มีการกล่าวว่า การใช้คำว่า Computer Assisted Instruction นั้นผิด ควรจะเปลี่ยนเป็น Computer Assisted Learning นักคิดเหล่านี้คิดว่าเพียงแต่เปลี่ยนชื่อเท่านั้น นักเรียนของเราก็จะเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้เองอย่างน่าอัศจรรย์ และ โรงสอนของเราก็จะผลิตนักคิดและนักปฏิบัติที่เยี่ยมยอดออกมาเป็นการใหญ่

          ผมชอบนึกเล่นๆ ว่า การที่คนไทยไม่ชอบเรียนรู้เรื่องต่างๆ หลังจากพ้นสถานศึกษาระดับต่างๆ มาแล้วนั้น เป็นเพราะเราใช้คำพูดที่ผิดแบบเดียวกันนี่เอง โดยที่เรานิยมใช้คำว่าสำเร็จการศึกษาบ้าง จบการศึกษาบ้าง นักเรียนนักศึกษาของเราจึงเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อเขาเรียนครบหลักสูตรแล้วก็จะรู้หมดทุกอย่าง เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์จบก็จะเป็นนักคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่แล้ว เรียนบัญชีจบแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะต้องเรียนอีก ก็เมื่อสำเร็จและจบแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะต้องเรียนอีก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ครูบาอาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน และ คนทำงานตามหน่วยงานและห้างร้านทั่วไปที่ทำงานมานานแล้วจะกลายเป็นคนที่หยุดความรู้ไว้ตั้งแต่เวลาที่เดินออกwbr>wbr>wbr และไม่สามารถจะตามความก้าวหน้าของโลกและเทคโนโลยีได้ทัน

          การที่เราจะทำให้คนไทยเป็นผู้ที่สนใจเรียนรู้ตลอดชีวิตได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนทัศนคติเรื่องจบการศึกษา และต้องทำให้ทุกคนตระหนักว่า การเรียนในสถานศึกษานั้นเป็นเพียงการศึกษาและเตรียมเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เท่านั้น การเรียนรู้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อเดินเข้าสู่ชีวิตการทำงาน และการเรียนรู้นี้จะต้องดำเนินไปตลอดชีวิต

          หนังสือที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเล่มนี้ ผมคิดว่าอ่านไม่สนุกและการจัดแบ่งเนื้อหาไม่ค่อยได้เรื่องนัก เนื้อหาในเล่มแบ่งเป็น 5 ภาค คือ ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต วิสัยทัศน์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของปวงชน ภาคปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย "การเรียนรู้ตลอดชีวิตของปวงชน" และ การบรรลุเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ดูจากเนื้อหาก็น่าสนใจมาก แต่รายละเอียดนั้นสับสนมาก ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องยุทธศาสตร์นั้น หนังสือเล่มนี้ได้ให้หัวข้อไว้ 10 ประการดังนี้

  • การวางกรอบงานในเชิงยุทธศาสตร์
  • การปฏิวัติเจตคติ
  • การขยายขอบเขตของการเข้ามามีส่วนร่วมและผลสัมฤทธิ์ให้กว้างไกล
  • ความสำคัญของบ้าน ชุมชน และสถานประกอบการ
  • การปรับระบบระเบียบให้เรียบง่ายและการบูรณาการ
  • การประสานแผน หุ้นส่วน และความร่วมแรงร่วมใจ
  • การเข้าถึงสารสนเทศ คำปรึกษา และการแนะแนว
  • ความถูกต้องของข้อมูล เป้าหมาย และ มาตรฐาน
  • การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารและการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร
  • การจัดสรรเงินทุนกับการใช้จ่าย
          ผมอ่านรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์แล้วก็ยังงงอยู่ เพราะมีเนื้อหาประกอบค่อนข้างน้อย จึงยังมองไม่ใคร่ออกว่ายุทธศาสตร์ที่แท้จริงคืออะไร ผมอยากเห็นข้อความที่ชัดเจนและง่ายๆ มากกว่าที่ให้ไว้

          การส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น ผมเองคิดว่ามีปัจจัยสำคัญอยู่ ด้านดังนี้ ปัจจัยแรกก็คือเจตคติ คือคนจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติว่าจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจัยที่สองก็คือ ผู้ประกอบการที่เป็นนายจ้างจะต้องยินยอมให้พนักงานของตนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต และต้องจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ปัจจัยที่สามรัฐจะต้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้การสนับสนุน อาทิทางประเทศสิงคโปร์นั้นได้มีระเบียบให้พนักงานคอมพิวเตอร์ไปรับการฝึกอบรมได้ ณ สถานศึกษาที่กำหนด และเมื่อเรียนจบแล้วก็สามารถนำใบเสร็จรับเงินและประกาศนียบัตรไปแสดงเพื่อขอคืนค่าใช้จ่ายได้ด้วย ปัจจัยที่สี่จะต้องมีหน่วยงานที่เหมาะสมในการพัฒนาสื่อและสาระสำหรับการนำมาใช้เรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจัยที่ห้า คือด้านเทคโนโลยี ซึ่งผู้รับผิดชอบจะต้องจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการนำเสนอบทเรียน

          ในบรรดาปัจจัยเหล่านี้ การสนับสนุนจากภาครัฐเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากสำหรับระยะนี้ เพราะรัฐเองก็ขาดเงินงบประมาณทางด้านอื่นๆ อยู่อีกมาก ส่วนปัจจัยที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดก็คือตัวผู้เรียนเอง การปรับทัศนคติให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องยากหากไม่มีอะไรจูงใจ ยิ่งคนมีอายุมากขึ้นยิ่งเฉื่อยลงทั้งร่างกายและสมอง ดังนั้นหากต้องการให้มีการเรียนรู้ก็จะต้องสร้างความปรารถนาให้เกิดขึ้น นั่นนำไปสู่ปัจจัยคือนายจ้าง ปัญหาของเราเวลานี้ก็คือ แม้แต่นายจ้างเองก็ยังไม่ได้ปรารถนาจะเรียนรู้

          ไหนๆ ก็พูดถึงคำว่าการเรียนรู้แล้ว ขอนำเอาคำนิยามที่ปรากฏในหน้า 43 มาลงไว้ให้อ่านเล่น เผื่อจะมีอะไรที่ต้องการเพิ่มเติมบ้าง การเรียนรู้ คือ "การกระทำของคนทีปรารถนาจะทำความเข้าใจกับประสบการณ์ที่ได้พบ ซึ่งอาจจะเกี่ยวโยงกับการเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ค่านิยม รวมทั้งศักยภาพในการใคร่ครวญ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลย่อมจะนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา และ ความปรารถนาที่จะเรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก"

          เรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ยังพูดกันน้อย ดังนั้นแม้หนังสือเล่มนี้จะอ่านยาก แต่ก็ควรจะหามาอ่าน หรือมิฉะนั้นก็อาจจะหาเล่มที่เป็นบทสรุปที่มีจำนวนหน้าน้อยกว่ามาอ่านก็ได้ อย่างน้อยจะได้รู้ว่าอังกฤษเขาคิดในเรื่องนี้กันอย่างไร

Back