Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

Home
IT Idea for Spiritization

วิสัยทัศน์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย 2020 : สถานภาพและยุทธศาสตร์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สิงหาคม 2543 ราคา 100 บาท

          กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เป็นกระทรวงเล็กๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจจากนักการเมืองมากนัก ยกเว้นแต่ในเรื่องที่มีตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการอยู่สองตำแหน่ง อย่างน้อยก็ใช้ต่อรองได้เมื่อมีการแบ่งสรรโควต้ารัฐมนตรีระหว่างพรรค

          รัฐมนตรีแต่ละท่านที่เข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้นำกระทรวงวิทยา ศาสตร์ฯ นั้น น้อยนักที่จะมีบทบาทผลักดันให้งานวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของไทยก้าวหน้า หรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งส่งเสริมให้นักเรียนสนใจเข้ามาเรียนทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ที่เห็นว่ามีการทำงานเหล่านี้อย่างจริงจังก็เฉพาะในสมัย ที่คุณดำรง ลัทธพิพัฒน์เป็นรัฐมนตรีเท่านั้น และผลงานของท่านผู้นี้ก็ยัง มีผู้ระลึกถึงกันอยู่ในปัจจุบัน คงเป็นด้วยเหตุนี้เองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศจึงไม่ ได้รับความนิยมสนใจจากบรรดาเยาวชน นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป เพราะคิดกันว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น เป็นเรื่องซับซ้อนและพ้นไปจากการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของคนที่พยายามจะเดินทางไปนอกโลก หรือลงไป สำรวจก้นมหาสมุทร หรือมิฉะนั้นก็ขลุกอยู่แต่ในห้องทดลองเท่านั้น

          เพิ่งมาสมัยที่ ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทย์ฯ ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2542 เป็นต้นมานี่เอง ที่รัฐมนตรีท่านนี้ได้ผลัก ดันให้เกิดความสนใจในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างจริงจัง มากขึ้นในกลุ่มประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นท่านยังได้เสนอว่างานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ ประเทศที่ทำกันอยู่นั้นไม่มีทิศทาง ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน อีกนัยหนึ่งผู้บริหารงานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังไม่ได้คิดกันว่าไทยควรมุ่งหน้าพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปทางด้านไหนบ้าง ก็งานวิทยาศาสตร์นั้นมีมากมายหลายร้อยสาขา เป็นไปไม่ได้ ที่ประเทศไทยที่มีจำนวนนักวิทยาศาสตร์จำกัดจะไปพัฒนา ความรู้ในทุกๆ ด้านให้ถึงระดับที่จะแข่งกับผู้อื่นได้ ดร. อาทิตย์ เห็นว่า เราน่าจะต้องกำหนดทิศทางที่จะก้าวเดินให้ชัดเจน หาแนวทางปฏิบัติให้ชัด และกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ให้ได้

          จากแนวคิดของท่านรัฐมนตรี ดร. อาทิตย์ ได้ทำให้เกิดการประชุม สมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาครั้งแรกขึ้นที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ที่บางนา เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคม 2542 ผลการประชุมผู้สนใจและเกี่ยวข้องร่วมหนึ่งพันคน ได้นำมาสู่การกำหนดว่าไทยควรพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7 สาขา คือ สาขาเกษตร สาขาอุตสาหกรรมการผลิต สาขาอุตสาหกรรมการบริการ สาขาสิ่งแวดล้อม สาขาการศึกษา วัฒนธรรม สุขอนามัย และ สวัสดิการ สาขา พลังงาน และสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม นอกจากนั้นยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ 6 ด้าน คือ ด้านการวิจัย และพัฒนา ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านการพัฒนากำลังคนทางวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการบริหารระบบ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ด้านสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          หลังจากการประชุมแล้ว คณะกรรมการจัดทำวิสัยทัศน์และแผน ยุทธศาสตร์แห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2543 – 2563 ได้มอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญหลายกลุ่มไปดำเนินการ จัดทำรายงานสถานภาพและทิศทางอนาคตของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีไทย 7 สาขาขึ้นดังมีรายชื่อดังนี้

  • สาขาเกษตร ได้แก่ คุณปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา และ คณะ
  • สาขาอุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ นายเขมทัต สุคนธสิงห์
  • สาขาการบริการและการพาณิชย์ ได้แก่ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ และคณะ
  • สาขาการศึกษา วัฒนธรรม สุขอนามัย และ สวัสดิการ ได้แก่ ดร. พรชัย มาตังคสมบัติ
  • สาขาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ดร. มนตรี จุฬาวัฒนฑล
  • สาขาพลังงาน ได้แก่ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ และ คณะ
  • สาขาสื่อสารและโทรคมนาคม ได้แก่ คุณพิชัย วาศนาส่ง และ คณะ

รายงานยุทธศาสตร์ 6 ด้าน มีรายชื่อดังนี้

  • ด้านการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ นพ. วิจารณ์ พานิช และคณะ
  • ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้แก่ ดร. กอปร กฤตยรกีรณ และ คณะ
  • ด้านการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร. ยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ และคณะ
  • ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร. ประยูร เชี่ยววัฒนา
  • ด้านการบริหารระบบการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร. มาลี สุวรรณอัตถ์ และคณะ
  • ด้านสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์
          หนังสือที่นำมาแนะนำนี้จัดทำขึ้นในวาระการจัด ประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เนื้อหาของหนังสือแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ส่วนแรกก็คือ สารจาก ท่านรัฐมนตรี ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ และ ผู้อำนวยการ สวทช. ดร.ไพรัช ธัชยพงศ์ ส่วนที่สองเป็นร่างกรอบวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการสรุปเนื้อหาที่ได้มาจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสิบ สามกลุ่มที่ได้กล่าวถึงข้างต้น โดยเริ่มจากการกล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดทำวิสัย ทัศน์ สภาพของปัญหา ความต้องการในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน การแก้ปัญหา และ กรอบยุทธศาสตร์ที่นำเสนอ และส่วนที่สามก็คือบทสรุปจาก รายงานของทั้ง 13 กลุ่ม

          เป็นเรื่องยากมากที่จะนำเสนอและวิจารณ์ผลสรุปรายงานทั้ง 13 กลุ่มในที่นี้ เพราะเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือนี้ล้วนแล้ว แต่เป็นครีมที่ข้นไปด้วยสาระ เนื้อหาแต่ละย่อหน้าล้วนมีเรื่องให้ต้องขบคิดและทำ ความเข้าใจอีกมากด้วยกัน ดังนั้นผู้สนใจคงจะต้องเสาะแสวงหาหนังสือเล่มนี้มา ศึกษาเอาเอง อีกทั้งราคาก็ย่อมเยา ไม่เหลือวิสัยที่จะหามาศึกษาได้

          อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ควรจะอธิบายต่อไปก็คือ หนังสือเล่มนี้ ได้กลายเป็นเนื้อหาสำหรับการประชุมสมัชชาเพื่อรับฟังข้อ วิจารณ์ต่างๆ ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่เชิญมา การประชุมเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมได้มีการเชื้อเชิญให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความ คิดเห็นว่าชอบข้อเสนอจากทั้ง 13 กลุ่มอย่างไรบ้าง มีอะไรขาดหายไปบ้าง มีอะไรที่ควรเพิ่มเติม เข้ามาอีกบ้าง ผลการประชุมได้นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาบาง ส่วน ซึ่งก็ได้มีการนำไปวิจารณ์กันอีกครั้งหนึ่งเมื่อต้นเดือน ตุลาคมที่ผ่านมานี้ ปัจจุบันนี้รายงานฉบับสุดท้ายของวิสัยทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย: 2020 ได้เสร็จสิ้นแล้ว คาดว่าทาง สวทช. คงจะจัดพิมพ์รายงานเป็นรูป เล่มออกมาอีกในอนาคต

Back