Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

Home
IT Idea for Spiritization

เจาะลึกสงครามลับ CIA
นพดล เวชสวัสดิ์ แปลจาก The Way of the Knife เขียนโดย Mark Mazzetti พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ มติชน ๒๕๕๙


            ผมชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับสายลับและนักสืบมาตั้งแต่ยังเด็กๆ แล้ว. เมื่อผมยังเป็นเด็กนักเรียนมัธยม ก็ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับการเป็นนักสืบของสำนักงาน FBI ที่มีผู้แปลลงในนิตยสารเยาวชนสมัยนั้นคือ ชัยพฤกษ์ ในยุคก่อนที่คุณอนุช อาภาภิรม จะหันมายกเครื่องชัยพฤกษ์ และ ทำฉบับวิทยาศาสตร์ออกมาด้วย. เรื่องนักสืบ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือทั้งหลาย รวมทั้งรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูงทำให้ผมคิดว่า นักสืบและผู้รักษากฎหมายในอเมริกานั้นจะต้องเก่งไร้เทียมทานแน่ๆ. แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับวงการนักสืบและสายลับของอเมริกา.

            เมื่อครั้งที่รัฐบาลอิหร่านบุกยึดสถานฑูตอเมริกัน และจับตัวคนในสถานฑูตเอาไว้นั้น รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ส่งทหารกลุ่มหนึ่งเข้าไปในอิหร่านเพื่อแย่งตัวประกัน. แต่...ภารกิจล้มเหลว แถมยังเสียหายอย่างหมดลาย. เมื่อได้เห็นข่าวเรื่องนี้ ผมก็อดนึกสงสัยในความสามารถของบรรดานักสืบ และ สายลับอเมริกันว่าคงจะเก่งเฉพาะในนิยายเท่านั้น. ย้อนกลับขึ้นไปอีก ปรากฏว่าทหารอเมริกันก็เคยพลาดท่าอย่างน่าอับอายมาแล้ว เมื่อการบุกอ่าวหมูที่คิวบาล้มเหลว. ความจริงถ้าจะว่าไปแล้ว ความล้มเหลวของหน่วยงานสายลับของสหรัฐฯ นั้นมีมากจริงๆ.

            หนังสือเล่มนี้รวมเรื่องราวของการทำงานของ CIA หรือ Central Intelligence Agency ของสหรัฐฯ เอาไว้มากมาย. ผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นภาพว่า สงครามยุคใหม่นั้นแตกต่างไปจากสมัยอดีตอย่างสิ้นเชิง. การต่อสู้ทางด้านการสืบคามลับ, การสืบ, การดักฟังโทรศัพท์, การดักรับข้อมูล, การลอบสังหาร ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก. ผู้เขียนพยายามเล่มเรื่องความขัดแย้งต่างๆ ระหว่างหน่วยงาน CIA กับกองทัพบก, ระหว่างนักการเมือง, ระหว่างผู้บริหารประเทศ ฯลฯ. เรื่องเหล่านี้น่าสนใจก็จริง แต่การเขียนนั้นทำให้สับสนมาก เพราะผู้เขียนได้กล่าวถึงชื่อคนจำนวนมากซึ่งอาจจะเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่อเมริกันชน แต่สำหรับผู้อ่านชาวไทยนั้นอาจจะเข้าใจยาก. ยิ่งแนวคิดด้านการสืบความลับนั้นผู้พันกับการเมืองมาก การที่เราไม่รู้เรื่องการเมือง, นโยบาย, การแข่งขัน, การกีดกัน, การแก่งแย่งชิงดี ทำให้ยากที่จะเข้าใจเนื้อหาได้.

            หนังสือเล่มนี้นอกจากอ่านยากเพราะมีคนมาเกี่ยวข้องในเนื้อหาแต่ละเรื่องค่อนข้างมาก และ การเขียนที่ยึดเรื่องสำคัญๆที่ CIA ไปเกี่ยวข้องด้วย ทำให้การเดินเรื่องในแต่ละบทต้องย้อนกลับไปกลับมา ทำให้สับสน. แต่ถ้าหากท่านชอบประเด็นที่เกี่ยวกับการบริหารองค์การในช่วงที่มีการแก่งแย่งชิงดีกันในระหว่างหน่วยงาน และ ระหว่างนักการเมืองด้วยกัน หนังสือเล่มนี้ก็เหมาะที่จะอ่านอย่างละเอียด บางทีอาจจะพบว่าเนื้อหาด้านกลยุทธ์นั้น อาจซับซ้อนมากกว่าสามก๊กที่อ้างว่าเป็นสุดยอดกลยุทธ์สำหรับการบริหารด้วยซ้ำไป.

 

 

Back