Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive

คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

 

Home
IT Idea for Spiritization

คำทักทาย ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2551

 

สวัสดีครับ

        ช่วงเดือนมิถุนายนนี้มีเรื่องน่าสนใจหลายเรื่องในประเทศของเรา นับตั้งแต่เรื่องปราสาทเขาพระวิหาร, เรื่องการเดินขบวนย้ายสถานที่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ไปจนถึงเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐสภา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศของเราให้ก้าวไปข้างหน้าทั้งนั้น แต่ผมคิดว่าเราต้องมั่นคงในจิตใจ และ มองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของกระบวนการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเป็นปึกแผ่นในอนาคต การขับเคลื่อนนี้ย่อมต้องมีอุปสรรค ขวากหนาม และ การทดสอบความอดทน และ ความหนักแน่นของพวกเราชาวไทยเป็นระยะ ๆ ผมเสนอว่าเราควรสนใจเหตุการณ์นี้ในแง่ของการเป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่เราจะได้เรียนรู้มากขึ้นไปอีก เราควรมองปัญหานี้จากทั้งสองฝ่าย และ พยายามเข้าใจความเป็นเหตุเป็นผล รวมทั้งคำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย จากนั้นลองพิจารณาดูแนวทางคำตอบที่ควรจะเป็น และสังเกตดูต่อไปว่าคู่กรณีขัดแย้งทั้งสองฝ่ายจะทำให้สถานการณ์นี้คลี่คลายไปได้อย่างไร

        กระบวนการพิจารณานี้ถ้าเราเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง ก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการตัดสินใจซึ่งในบางเรื่องสามารถนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ได้ ระบบที่ช่วยให้เราตัดสินใจด้วยคอมพิวเตอรนี้เรียกว่า Decision Support System หรือ DSS

        ระบบ DSS โดยทั่วไปมักจะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เข้าช่วย ในกรณีของการชุมนุมนี้ ผู้พิจารณาอาจจะต้องมีโมเดลจำนวนมากเพื่อคำนวณหาผลกระทบ เช่น

  • ผลกระทบของการไม่สามารถ เดินทางผ่านถนนที่มีการชุมนุมกันนั้น ได้ทำให้ต้องเสียค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นเพียงใด (แต่...แน่นนอนครับ ผู้พิจารณาจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับการจราจรในย่านนั้นก่อนหน้าที่จะมีการชุมนุมก่อน)
  • เบี้ยเลี้ยงที่ต้องจ่ายแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องมารักษาการบริเวณที่ชุมนุม และ ทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งเวลาที่เสียไป และ ไม่อาจทำประโยชน์ในด้านการพิทักษ์สันติราษฎร์อื่น ๆ นอกจากนั้นอาจจะต้องพิจารณาด้วยว่า เมื่อกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำสถานีตำรวจมีจำนวนน้อยลงแล้ว จำนวนอาชญากรรรมอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ถ้ามีเพิ่มขึ้น รวมแล้วเป็นมูลค่าของความเสียหายเท่าใด
  • ในด้านเศรษฐกิจการลงทุน ผู้พิจารณาก็จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการลงทุน รวมทั้งแนวโน้ม ทั้งในช่วงก่อนเกิดวิกฤติการณ์พันธมิตร และในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์เป็นต้นมา เพื่อพิจารณาว่าการชุมนุมนั้นได้มีผลกระทบอย่างไรบ้าง
  • ในด้านจิตใจ การพิจารณาเรื่องนี้เป็นเรื่องยาก เพราะต้องสามารถหาจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ผู้ปกครองนักเรียน, นักเรียน, อาจารย์ และ พนักงานโรงเรียนราชวินิต และ มหาวิทยาลัยราชมงคล ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้ จากนั้นต้องพิจารณาว่าเหตุการณ์มีผลกระทบอย่างไรต่อจิตใจของบุคคลเหล่านี้ เกิดความเครียดมากน้อยเพียงใด หากมีความเครียดระยะยาว จะมีโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บมากน้อยเพียงใด ทั้งจากการสัญจรที่ไม่สะดวก, เสียงอภิปรายที่ปล่อยออกทางลำโพง, การชุมนุมที่มีเชื้อโรคต่าง ๆ นานาชนิดมาอบอวลลอยอยู่ในอากาศ ฯลฯ

        ที่เขียนมานี้ ผมไม่ได้เสนอแนะอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่ลองคิดดูว่าจะหาโมเดลชั้นต้นได้หรือไม่ แต่โมเดลในชั้นนี้ก็มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับผลกระทบเท่านั้น ยังไม่ใช่โมเดลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจแบบ What if?

        โมเดลสำหรับการตัดสินใจนั้น จะต้องพิจารณาต่อไปอีก ในกรณีที่รัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจนั้น จะต้องพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบที่เป็นไปได้ตามวิถีทางของการปกครองแบบประชาธิปไตย และ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ทางเลือกเหล่านี้ จะต้องนำมาสร้างโมเดลที่มีความซับซ้อนมากกว่าการกำหนดผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างที่ผมแสดงไว้ข้างต้น นั่นก็คือจะต้องสามารถบอกได้ว่า ผลที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ทางเลือกต่าง ๆ ทั้งทางด้านสังคม, กฎหมาย, ต่างประเทศ, ความมั่นคง, เสถียรภาพของรัฐบาล, การแข่งขันระหว่างประเทศ ฯลฯ เป็นอย่างไร

        ในทางกลับกัน รัฐบาลอาจจะลองพิจารณาจากความคิดของพันธมิตรว่า ทางเลือกต่าง ๆ ของพันธมิตรมีอะไรบ้าง และมีโมเดลที่จะอธิบายได้หรือไม่ว่า ทางเลือกเหล่านั้นจะมีผลกระทบอย่างไรบ้างต่อภาพลักษณ์ และ เสถียรภาพ ของรัฐบาล ตลอดจน ผลกระทบด้านอื่น ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว

        หลายคนอาจจะคิดว่าผมเพ้อฝันทางทฤษฎี เรื่องนี้ผมไม่ปฏิเสธ ความคิดของผมที่เล่าไปนั้นเป็นเพียงการตอบสนองต่อความท้าทายเกี่ยวกับการตัดสินใจที่ซับซ้อน ผมไม่แน่ใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและพันธมิตร จะเข้าใจ implication ของการเผชิญหน้าอย่างถ่องแท้ว่ามีอะไรบ้าง และการเผชิญหน้าครั้งนี้มีผลดีหรือผลเสียต่อการก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างไร ถ้าหากทั้งสองฝ่ายหันหน้ามาเปิดโต๊ะเจรจา และพิจารณาโมเดลต่าง ๆ พร้อมกับตรวจสอบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกำลังส่งผลกระทบเช่นใดต่อประเทศชาติแล้ว อาจจะทำให้การแก้ไขปัญหาง่ายขึ้นก็เป็นได้

        ในช่วงเดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัดบ้าง แต่คราวนี้ไม่มีอะไรพิเศษที่จะเล่าในเว็บนี้ อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เสียเวลาผู้ที่เปิดเว็บของผมอ่าน ผมจึงนำเรื่องเกี่ยวกับศัพท์ภาษาอังกฤษหลายเรื่องที่ผมเขียนไว้มาบันทึกให้อ่านในที่นี้ เชิญเปิดอ่านได้ครับ

 

กรกฎาคม 2551

ครรชิต มาลัยวงศ์

 

Back