Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive

คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

Home
IT Idea for Spiritization

 

ตัวเลขอัศจรรย์
ดร. อนุชิต ล้ำยอดมรรคผล
สำนักพิมพ์กระดานสา ตุลาคม 2546 จำนวน 112 หน้า 70 บาท

    เมื่อผมสอนการเขียนโปรแกรมนั้น ผมจะคอยแก้ไขการเขียนคำสั่งกำหนดค่า พาย ( P ) ที่นักศึกษากำหนดให้เป็น 22/7 เสมอ ผมอธิบายว่าคอมพิวเตอร์มีความแม่นถึง 7 ตำแหน่ง ดังนั้นเราควรจะเขียนค่าของพายให้ครบ 7 ตำแหน่ง คือ 3.141593 แต่ถ้าใช้ค่า 22/7 จะได้ค่าพายเป็น 3.142857 ซึ่งแตกต่างไปจากค่าที่ควรจะเป็นมากทีเดียว

    และ..เพื่อให้นักศึกษาประทับใจ ผมก็จะเขียนค่าพายที่ผมจำได้ให้นักศึกษาดู 20 ตำแหน่ง การจำค่าพายหลาย ๆ ตำแหน่งนั้นความจริงก็ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรหรอกครับ แต่เป็นการหัดใช้สมองให้ทำงานมาก ๆ หน่อย และที่สำคัญเป็นการหัดสมาธิด้วย นานมาแล้ว มาร์ติน การ์ดเนอร์ นักเขียนคอลัมน์ชื่อ Recreational Mathematics ในวารสาร Scientific American ได้เล่าว่ามีศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ท่านหนึ่งสามารถจำค่าของพายได้ถึงร้อยตำแหน่ง และสามารถบอกตัวเลขจากตำแหน่งใด ๆ ที่เราขอให้ท่องให้ฟังก็ได้ อ่านถึงตรงนี้แล้วท่านผู้อ่านจะรีบไปท่องจำบ้างก็ไม่ขัดข้องครับ

    หนังสือตัวเลขอัศจรรย์ เล่มนี้ได้ให้เทคนิคในการท่องจำตัวเลขค่าพายเอาไว้ด้วย โดยท่านได้แต่งเป็นคำกลอนว่า

   “ ครา               ธ         พจนา
     ณ               สงขลา     เมืองด่าน
     พบ             ตัวเลข    โบราณ
     คิด             ไขขาน    ไว้แยบยล
     ท่องจำพาย ง่ายดาย   นับอักขระ
     ครบ               จะ       ฉงน
     อัศจรรย์       มีใน     กลอนกล
     คน              จำง่าย    ไชโย”

    ลองจำไว้นะครับ ง่ายกว่าที่ผมพยายามจำเป็นตัวเลขมาแล้ว วิธีก็คือนับจำนวนตัวอักษรและสระในแต่ละส่วนเป็นตัวเลขแต่ละตัว ซึ่งก็จะได้ดังนี้ครับ 3.14 159 265 358 979 323 846 264

    หนังสือของ อาจารย์ ดร. อนุชิตเล่มนี้ไม่ได้เกี่ยวกับพายทั้งเล่มนะครับ แต่เกี่ยวกับตัวเลขอื่น ๆ ที่แปลก ๆ จำนวนมาก ขนาดผมเองคิดว่ารู้เรื่องตัวเลขแปลก ๆ มากแล้วยังต้องยกให้อาจารย์อนุชิต ว่าเสาะแสวงหามาให้เรียนรู้ได้อีกมาก (หนังสือเกี่ยวกับพายที่เขียนเป็นเล่มหนึ่งก็มีเหมือนกันนะครับ มีรายละเอียดสนุก ๆ เกี่ยวกับการหาค่าพายมากมายหลายเรื่อง แต่ยังไม่มีใครหยิบมาแปลเป็นไทย)

    เรื่องของตัวเลขนั้นสนุกอย่างไรคงจะอธิบายได้ยาก เพราะคนไทยสนใจแต่ตัวเลขสองตัวเท่านั้น คือเลขบน และ เลขล่าง ส่วนคุณสมบัติของเลขแต่ละตัว หรือเลขที่เป็นจำนวนแปลก ๆ นั้นคนไทยไม่สนใจหรอกครับ

   เรื่องของตัวเลขที่ดร. อนุชิตนำมาเขียนในเล่มนี้มีทั้งเลขเฉพาะ (Prime) เลขแฟคทอเรียล เลขกิวกา เลขยกกำลังแปลก ๆ ฯลฯ นอกจากเล่าเรื่องเลขแปลก ๆ แล้วยังมีเรื่องขำขันหลายเรื่องมาสอดแทรกไว้ด้วย ก็ลองไปหามาอ่านหรือไม่ก็เอามาสอนน้อง ๆ ต่อก็แล้วกันครับ

 

 

Back