Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive

คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

Home
IT Idea for Spiritization

 

7 เซียนซามูไร
วัฒนชัย วินิจจะกูล และ เพื่อน
สำนักพิมพ์ Open Publishing, 2544 หนา 120 หน้า 95 บาท

      ชื่อหนังสือดูเหมือนหนังญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงขนาดฮอลลีวูดยังต้องลอกเลียนไปทำบ้างในสไตล์ของตนเอง แต่เนื้อในไม่ใช่นิยายหรอกครับ แต่เป็น ปรัชญาความคิดและชีวิตคนโทรทัศน์ไทย 7 ชีวิตด้วยกัน คือ นภดล โกมารชุน, สินจัย เปล่งพานิช, ปัญญา นิรันทร์กุล, สัญญา คุณากร, เกียรติ กิจเจริญ,เทพชัย หย่อง, และ เทพ โพธิ์งาม

      เห็นชื่อรองของหนังสือที่ยกมาให้ดูข้างต้นนี้แล้ว ผู้อ่านหลายคนอาจแปลกใจว่าผมดูโทรทัศน์ด้วยหรือ คำตอบก็คือเปล่าครับ ผมไม่เคยได้ดูการแสดง หรือชมรายการโทรทัศน์ใด ๆ ของเซียนซามูไรทั้ง 7 คนนี้เลย ลำพังจำใบหน้ายังไม่ได้เลยครับ เพียงแต่เคยได้ยินชื่อมาบ้างเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่นำหนังสือเล่มนี้มาแนะนำก็ด้วยเหตุผลสองประการ

      ประการแรกก็คือหนังสือเล่มนี้นำความคิดของพิธีกรและนักแสดงทั้ง 7 คนมาให้เราได้ศึกษา ความคิดความเห็นเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการแสดง การเป็นพิธีกร และ การต่อสู้เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามที่ตนใฝ่ฝัน นอกจากนั้นยังมีหลายตอนที่น่าสนใจ เช่น การตัดสินใจเข้าสู่วงการบันเทิงในช่วงแรกของชีวิต และความเห็นเกี่ยวกับชีวิต สำหรับประการที่สองเป็นการนำเสนอโดยนำคำสัมภาษณ์มาเรียบเรียงเสียใหม่ให้น่าอ่านมากขึ้น

      ลองอ่านความเห็นของศิลปินบางคนดูเถอะครับ

      นภดล “ คุณสมบัติที่ดีของนักแสดงนั้นอย่างแรกเลยต้องทำเพราะใจรัก มีหลายคนที่เข้ามาด้วยเหตุผลต่าง ๆ กันซึ่งไม่ใช่ความผิด แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการเป็นนักแสดง ”

      ปัญญา “ ผมพอใจกับงานทุกรายการที่ทำมา เพียงแต่ว่ายังไม่พอใจที่สุดทุกครั้ง เวลาอัดรายการเสร็จผมรู้สึกแฮปปี้แต่ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่ามันน่าจะดีกว่านี้อีก ”

      สัญญา “ สำหรับผม ชีวิตที่ดีคือการมีความพึงพอใจ ผมว่าปัญหาใหญ่ของผมหรืออาจจะอีกหลายคนคือความพึงพอใจ เพราะความต้องการของคนเราไม่มีที่สิ้นสุด ผมเองไม่ใช่มนุษย์ที่ยอดเยี่ยมที่จะละเลิกกิเลศได้หมดแล้ว แต่ผมคิดว่าเราจะต้องพยายามมองความต้องการของเราอย่างเข้าใจ ”

      พอมองเห็นไหมครับว่าแต่ละคนคิดอย่างไร

 

Back