Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive

คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

 

Home
IT Idea for Spiritization

คำทักทาย ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2550

สวัสดีครับ

        เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ประเทศของเราได้เผชิญหน้ากับบททดสอบอุปสรรคสำคัญหลายอย่างด้วยกัน อย่างแรกก็คือทดสอบเรื่องม็อบซึ่งดูเหมือนจะออกข่าวกันว่าถูกฝ่ายตำรวจรังแก แต่ในภาพวีดิทัศน์จริง ๆ ที่มีผู้นำออกเผยแพร่นั้นรู้สึกจะตรงกันข้าม และเมื่อมีการบุกเข้าไปทำลายสิ่งของ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการต่อเนื่องตามมา ซึ่งก็เป็นการทดสอบกันอีกว่าจะส่งผลให้เกิดอะไรขึ้น และจะมีทางออกกันอย่างไร

        บททดสอบต่อมาก็คือความรู้สึกของประชาชนต่อท่านผู้นำที่เคยนำประเทศไปสู่ความเจริญก่อนที่จะอำลาอย่างสง่างาม เกิดอะไรขึ้นไม่ทราบกับความผันแปรทางความคิด เป็นเรื่องที่คงจะต้องติดตามศึกษากันอีก

        บททดสอบที่สำคัญคือเรื่องเงินบาทแข็ง ซึ่งก็เป็นบททดสอบที่สำคัญมากเนื่องจากมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศที่นับวันก็จะต้องพึ่งพาอาศัยต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ

        สำหรับบททดสอบสำคัญที่จะมีต่อมาในเดือนสิงหาคมนี้ก็คือบททดสอบว่าประชาชนจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ปัญหาก็คือร่างรัฐธรรมนูญนั้นอ่านยากเกินกว่าที่ประชาชนทั่วไปจะเข้าใจได้ น่าแปลกใจที่ สสร. ไม่ได้คิดที่จะย่อยและสรุปสาระสำคัญให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า การยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศอย่างไร ผมเองรู้สึกเสียดายที่มีนักวิชาการบางคนเสียเงินเสียทองไปลงโฆษณาเชิญชวนไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 นี้ เพียงเพราะเห็นว่าการร่างรัฐธรรมนูญเป็นกระบวนการไม่ถูกต้อง ความเห็นเช่นนั้นผมคิดว่าไม่ถูกกับเวลา ทางที่ดีนักวิชาการอิสระต่าง ๆ ควรเสนอแนะทางเลือกต่าง ๆ ให้แก่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญก่อน อย่างเช่นที่ทางกลุ่มพุทธศาสนาหลายกลุ่มพยายามเรียกร้องให้กำหนดว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่หากผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่เห็นด้วย ก็ต้องถือว่าเราได้ทำหน้าที่แล้ว งานสำหรับประเทศชาติที่ต้องทำต่อไปนี้ยังมีอีกมาก เราควรร่วมใจกันทำงานมากกว่า

        ผมสังเกตเห็นว่าพวกเราหลายคนพยายามคิดกันมากขึ้น แต่มักจะเป็นการคิดคัดค้านมากกว่าคิดสร้างสรรค์ และมักจะไม่คิดข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การปฏิบัติหรือการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น การค้านเป็นเรื่องง่ายครับ แต่การทำเป็นเรื่องยาก ผมเองก็เคยค้านเรื่องต่าง ๆ ที่คิดว่าไม่เหมาะสมมาหลายเรื่อง และถึงแม้จะพยายามหาทางแก้ไขเมื่อตนเองมีโอกาส แต่ก็ยังไม่สามารถจะทำได้ เพราะเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีความซับซ้อนมากจนการรื้อปรับสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นนั้นเป็นเรื่องยากมาก เพราะเราได้ละเลยสิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ควรเรียนรู้ มานานมากเกินไปเสียแล้ว

        ผมขอยกตัวอย่างเรื่องการขาดอาจารย์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ในศาสตร์ด้านนี้อย่างแท้จริง ผมได้พยายามผลักดันจนกระทั่งสามารถจัดหลักสูตรได้ แต่ผู้รับไม่ยอมยื่นมือออกมารับเพราะติดปัญหาต่าง ๆ นานา ดังนั้นการดำเนินการก็ไม่บรรลุผล ผมคิดว่างานที่กรมกองต่าง ๆ ทำไว้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ แบบนี้ยังมีมากครับ นั่นคือเราอยากช่วยประเทศ อยากคิดโครงการที่ดี แต่บังเอิญเราไม่ได้มองให้ทะลุปัญหาและอุปสรรค ไม่ได้พิจารณาความเสี่ยง ไม่ได้ผลักดันให้ผู้บริหารที่มีอำนาจ (ที่จะให้งบประมาณหรือผลักดันให้เป็นนโยบาย) ให้เห็นพ้องด้วย ดังนั้นงานจึงไม่สำเร็จ ที่น่าเจ็บใจก็คืองานจำนวนมากที่มีเงินสำหรับจับจ่ายใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือยกลับเป็นงานที่ผลประโยชน์ไปตกอยู่กับผู้มีอำนาจสั่งการ ยิ่งกว่าจะตกกับสังคมหรือประเทศ

        ดูไปแล้วนี่ก็คือเมืองไทยครับ เราก็คงจะช่วยกันประคับประคองให้เมืองไทยดำรงอยู่ต่อไปได้ แต่ตราบใดที่แต่ละคนยังนึกถึงแต่ตนเองแล้วละก็ อย่าได้หวังว่าเมืองไทยจะเจริญไปกว่านี้

        สวัสดีครับ.

 

 

ครรชิต มาลัยวงศ์

 

Back