Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

Home
IT Idea for Spiritization

e-Learning มาจากไหน

ผมได้รับคำถามเรื่อง e-learning ทางอีเมล์จากผู้อ่านคนหนึ่ง คำถามมีว่า "ใครเป็นคนคิด e-learning และ e-learning  มาถึงเมืองไทยได้อย่างไร"

คำตอบ

คำตอบเรื่องเกี่ยวกับใครคิดอะไรก่อนนั้นมีทั้งที่ตอบได้ง่ายและตอบได้ยาก ที่ตอบได้ง่ายก็คืออาจจะมีการบันทึกเอาไว้ในบทความวิชาการ หรือ ในคำบรรยายในที่ประชุมวิชาการว่าใครเป็นคนใช้ก่อนคนอื่น แต่ที่ตอบได้ยากก็คือจะต้องค้นหา และการค้นหาในเมืองไทยนั้นทำได้ยาก เพราะแม้จะเข้าเว็บได้ แต่ก็อาจจะไม่สามารถเรียกค้นดูบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการได้หมดทั้งนี้เพราะเจ้าของวารสารเขาคิดเงินค่าเปิด (มิฉะนั้นเขาก็ขายไม่ได้) ยกเว้นแต่เมื่อผู้ค้นเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยนั้นสมัครเป็นสมาชิกเพื่อใช้บริการวารสารนั้นแบบออนไลน์ซึ่งแน่นอนก็จะต้องเสียเงินเป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อหลายปีมานี้เองทางทบวงมหาวิทยาลัยได้แจ้งแก้มหาวิทยาลัยของรัฐว่าไม่ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกเอง ทบวงจะทำตัวเป็นศูนย์กลางและสมัครเป็นสมาชิกวารสารต่าง ๆ ทางระบบอินเทอร์เน็ต นิสิตนักศึกษาอาจเชื่อมโยงมาขอใช้บริการที่ทบวงได้ แต่มาปีนี้ทบวงบอกว่าไม่มีเงินงบประมาณจะเป็นสมาชิกเสียแล้ว ใครอยากใช้ก็ให้ไปจ่ายเงินเอง นี่แหละครับก็คือความยาก และ ความยากจนทางด้านวิชาการของไทย

เขียนตอบมายืดยาว ยังไม่ได้เข้าเรื่อง เอาเป็นว่าผมไม่ได้ค้นหาคำตอบให้หรอกครับ คำตอบผมมีง่าย ๆ ว่า ในยุคนี้ไม่มีใครคิดเรื่องที่แปลกกว่าคนอื่นคิดได้เร็วกว่าคนอื่นอีกแล้ว นั่นหมายความว่า แนวคิดเรื่องอีเลิรนนิงนั้นก็คงจะมีคนคิดได้พร้อม ๆ กันหลายคน และพัฒนาขึ้นมาพร้อมกันหลายคน สุดแท้แต่ว่าจะมีใครคิดได้ลึกซึ้งกว่า และ พัฒนาได้น่าประทับใจกว่ากันเท่านั้น สำหรับการใช้ในเมืองไทยก็เหมือนกัน มีอาจารย์หลายคนที่นำเอาบทเรียนบรรจุไว้ในเว็บให้นิสิตนักศึกษาอ่านหลายคน และอาจจะทำในเวลาพร้อมกัน แต่ผมคิดว่าคนที่เริ่มผลักดันเรื่องนี้ก่อนน่าจะเป็น อ. ยืน ภู่วรวรรณ ซึ่งทำเรื่องนี้ในขณะที่เป็นผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับเว็บของผมนั้นพยายามทำให้เป็นแบบอีเลิร์นนิงเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่มีเวลามากพอที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมเนื้อหาให้ดีได้ ดังนั้นเว็บของผมจึงไม่ใช่ตัวอย่างของอีเลิร์นนิง

     มีคำถามต่อเนื่องว่า จะประยุกต์อีเลิร์นนิงทางไหนได้บ้าง คำตอบก็คือ ในด้านการฝึกอบรม การเรียนการสอน รวมทั้งการพัฒนาความรู้และทักษะส่วนตัวให้แก่คนทั่วไป เช่น จะดูแลรักษาสุขภาพให้ตัวเองได้อย่างไร จะออกกำลังกายอย่างไรจะเหมาะ เลยไปถึงการเล่นโยคะด้วย

 

Back