CMM
คืออะไร
CMM
ย่อมาจาก Capability Maturity Model เป็นต้นแบบของการวัดวุฒิภาวะความสามารถในการทำงาน
ที่ทางสถาบัน Software Engineering Institute (SEI) แห่งมหาวิทยาลัย
คาร์เนกี เมลลอน ในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาขึ้น ให้แก่กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา
หลักการของ
CMM ก็คือ ความสำเร็จในการทำงานใดๆ ในอนาคตของบริษัทหรือหน่วยงาน
ขึ้นอยู่กับระดับวุฒิภาวะความสามารถ ในการทำงานของบริษัทหรือหน่วยงานนั้น
ในทำนองเดียวกัน วุฒิภาวะความสามารถของบริษัทหรือหน่วยงานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผลการทำงานในอดีตของบริษัทหรือหน่วยงานนั้น
SEI
ได้พัฒนาต้นแบบวุฒิภาะความสามารถออกมาเป็นห้าระดับ ระดับแรก (Initial
level) เป็นระดับเบื้องต้นซึ่งอาจกล่าวได้ว่า บริษัททั่วไปต่างก็อยู่ในระดับนี้
คือ ยังทำงานแบบไม่เป็นระบบ การทำงานต้องพึ่งผู้ที่มีประสบการณ์เป็นหลัก
ต่อมาพอถึง ระดับที่สอง (Repeatable level) การทำงานจะมีความเป็นระบบมากขึ้น
มีการนำหลักการจัดการโครงการมาใช้ในการบริหารงานของแต่ละโครงการ ระดับที่สาม
(Defined Level) เป็นระดับที่หน่วยงานได้จัดทำมาตรฐานการทำงานของหน่วยงานขึ้น
โดยการพิจารณาปรับปรุงจากการดำเนินงานในระดับที่สอง ในระดับนี้การทำงานจะมีมาตรฐาน
สามารถวัดและจัดเก็บสถิติผลการดำเนินงานเอาไว้ได้ ระดับที่สี่ (Managed
Level) เป็นระดับที่นำเอาสถิติการดำเนินงานที่จัดเก็บไว้มาวิเคราะห์
เพื่อหาจุดบกพร่อง และแก้ไขไม่ให้มีข้อบกพร่องได้ ระดับที่ห้า (Optimizing
level) เป็นระดับวุฒิภาวะสูงสุด เป็นระดับที่หน่วยงานดำเนินการปรับปรุง
กระบวนการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกระบวนการทำงานใหม่
ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และมีการป้องกันไม่ให้ข้อบกพร่องเกิดขึ้น
วุฒิภาวะความสามารถ
CMM ได้รับความสนใจนำไปใช้ในด้านต่างๆ หลายด้าน เช่น CMM ทางด้านซอฟต์แวร์นั้น
ก็ได้รับความสนใจจากบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายแห่งทั่วโลก บริษัทที่ประเมินผ่านวุฒิภาวะระดับต่างๆ นั้น ได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าด้วยดี และในบางแห่งก็มีการกำหนดระดับ
CMM ของบริษัทที่จะเข้ารับงานด้วย เช่นในสหรัฐอเมริกานั้น กระทรวงกลาโหมกำหนดว่า
บริษัทที่จะเข้ารับประมูลงานซอฟต์แวร์ได้ จะต้องมีวุฒิภาวะความสามารถ
CMM ระดับที่ 3 เป็นอย่างน้อย นั่นก็คือกระทรวงกลาโหมจะมั่นใจในกระบวนการซอฟต์แวร์ของบริษัทว่า
จะสามารถผลิตงานซอฟต์แวร์ตามที่กระทรวงกำหนดได้จริงๆ
|